” โรคเหงือก ” สังเกตตัวเอง แล้วรีบรักษา !

โรคเหงือก เป็นพื้นฐานปัญหาในช่องปากที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งส่งผลเสียตั้งแต่ กลิ่นปาก จนไปถึง การสูญเสียฟัน ปัญหาโรคเหงือกเรื่องใกล้ตัวที่มักถูกมองข้าม

อาการของโรคเหงือก วิธีสังเกตว่ากำลังมีปัญหาเหงือกอักเสบ

  • เหงือกแดงหรือบวมผิดปกติ
  • มีเลือดออกระหว่างแปรงฟัน 
  • เหงือกร่นลงทำให้เห็นฟันยาวขึ้นผิดปกติ 
  • ฟันเคลื่อนหรือขยับเวลาเคี้ยวอาหาร 
  • และมีกลิ่นปาก เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ

  • การสูบบุหรี่
  • โรคเบาหวาน
  • การไม่รักษาสุขภาพช่องปาก
  • ความเครียด
  • กรรมพันธุ์
  • ฟันเก ฟันซ้อน
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์
  • ภูมิต้านทานต่ำ 
  • ขาดสารอาหารบางชนิด

อาการของโรคเหงือก แบ่งเป็น 4 ระยะดังนี้

  1. ระยะแรก : เหงือกบวม เหงือกอักเสบ ที่เรียกกันว่าโรคเหงือกอักเสบ

มีการอักเสบแค่เหงือก (ปวด บวม แดง บริเวณเหงือก) แต่ยังไม่มีการทำลายกระดูกรองรับฟัน

  1. ระยะที่สอง : โรคปริทันต์อักเสบระยะต้น

ระยะที่เริ่มมีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ไม่เกิน 1 ใน 3 ซี่ฟัน

  1. ระยะที่สาม : โรคปริทันต์อักเสบระยะกลาง

ระยะที่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน จาก 2 ใน 3 ของซี่ฟัน แต่ยังไม่ถึงปลายราก

  1. ระยะที่สี่ : โรคปริทันต์อักเสบระยะปลาย

การรักษาโรคเหงือก

เมื่อมีอาการเหงือกบวม หรือเจ็บเหงือก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษา เบื้องต้นควรบรรเทาอาการด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลช่องปากและฟัน ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • แปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดซอกฟันด้วย
  • ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำลาย ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งแบคทีเรียในช่องปากได้
  • หากเหงือกบวมอักเสบและปวดมาก อาจรับประทานยาแก้ปวด แล้วรีบไปพบทันตแพทย์

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
tel: 02-1744610
line : @forfun

Scroll to Top